เมื่อนำแนวคิดและหลักการ Agile มาประยุกต์ใช้กับโครงการอื่นๆที่ไม่ใช่ Software(Agile for Non Software Projects)
ตั้งแต่การพัฒนา Agile เริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ณ รัฐยูท่าห์ Agile ได้เป็นจุดสนใจและกลายเป็นเป็นประเด็นร้อนที่กำลังมาแรงที่สุดในโลก สำหรับกลยุทธ์การจัดการโครงการ เนื่องจากประสิทธิภาพของระบบ Agile นั้นพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นกลยุทธ์การทำงานที่ลดความเสี่ยงและก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้สูญเสียของโครงการ (Project Stakeholders) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
Agile คือกลยุทธ์พื้นฐานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ
หลังจากการพัฒนาในปี 2544 การพัฒนาเครื่องมือ Agile เริ่มมีผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกนำไปใช้ในมุมมองที่ต่างกัน นอกเหนือจากการพัฒนาซอฟแวร์ การใช้หลักแนวคิดที่เรียกว่า Agile Manifesto จะเป็นเครื่องมือและเทคนิคสำหรับที่ทำให้การดำเนินงานแต่ละโครงการประสบความสำเร็จ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ประเภทโครงการเดียวกันก็ตาม ซึ่งทั้งหมดนี้ได้นำไปสู่การพัฒนาซอฟแวร์ต่อไป
ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การกลับไปมองหลักการพื้นฐานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ การใช้กลยุทธ์ Agile และ adaptive ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม โดยเป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้เพื่อรองรับกระบวนการทำงานที่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดีเยี่ยม โดย Agile Manifesto จะต้องพิจารณาจาก
-
การให้ความสำคัญระหว่างบุคคลและการปฎิสัมพันธิ์มากกว่า กระบวนการ และเครื่องมือ (Individuals and interactions over processes and tools)
-
การให้ความสำคัญเรื่องของมูลค่าทางธุรกิจที่มากกว่าเอกสาร (Business value over comprehensive documentation)
-
การให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันกับลูกค้ามากกว่าการเจราในเรื่องสัญญา (Customer collaboration over contract negotiation)
-
การให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงมากว่าการทำตามแผนงาน(Responding to change over following a plan
หลักแนวคิดดังกล่าวนี้ สามารถนำมาเป็นแนวทางการทำงานของแต่ละโครงการได้ เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างการทำงาน ลดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยาก ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ และเพื่อให้เราสามารถดำเนินโครงการที่ไม่ใช่ซอฟแวร์ โดยใช้หลักการของ Agile ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราอาจจะเริ่มต้นจากการกำหนดความคาดหวังที่ชัดเจนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าหรือหุ้นส่วนของเราก็ได้ เมื่อกล่าวถึงโครงการที่ไม่ใช้ซอฟแวร์ เช่น ผลิตภัณฑ์หรือบริการการทำงาน การกำหนดความชัดเจนของลูกค้า ว่าลูกค้าคือใคร มีความต้องการอะไรบ้าง จะทำให้เรากำหนดมูลค่าทางธุรกิจได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-
วัดผลได้ด้วยมูลค่าทางธุรกิจ (Measure Business Value)
การวัดมูลค่าทางธุรกิจ คือ การวัดหรือกำหนดมูลค่าทางธุรกิจของงานที่ทำเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากส่วนใหญ่ การส่งมอบงานจะเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นตัวชี้วัดผลประโยชน์หรือผลกำไรที่เกิดขึ้น เป้าหมายในแต่ละกระบวนการทำงานอาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยมาก ดั้งนั้น หากเราลดขั้นตอนการทำงานที่สั้นขึ้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและระยะเวลาการทำงานได้มากขึ้น โดยอาจจะเกิดจากการส่งมอบความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่องของคนในองค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรแบบภาพรวม
กลยุทธ์ Agile จะทำให้คุณค้นพบว่างานจะประสบความสำเร็จได้อย่างดีเยี่ยม เพราะช่วยยกระดับมูลค่าทางธุรกิจ ตอบสนองความพึงพอใจได้อย่างรวดเร็วตลอดการพัฒนา และยังช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอีกด้วย