Member Login

20 ทักษะที่ ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) ควรรู้

March 19, 2018

สำหรับท่านที่เป็นผู้จัดการโครงการนั้น เป็นที่รู้กันดีว่า ต้องใช้ทั้งความรู้ และความสามารถในการช่วยบริหารจัดการโครงการ (Project Management) ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของบริษัทให้ได้ วันนี้เราจึงรวบรวมองค์ความรู้(Knowledge Area)ที่ผู้จัดการโครงการ(Project Manager)ควรทราบและไม่ควรมองข้ามกันอย่างเด็ดขาดมาฝากกันค่ะ

ทักษะด้านการสื่อสาร (Communication skills)

1. สื่อสารกับคนทุกระดับ (Learn how to communicate with every level) เพราะจะช่วยแสดงให้แต่ละคนมีส่วนร่วมกับงานได้อย่างชัดเจน
2. สื่อสารแบบสาธารณะ (Learn how to speak publicly) เพราะคุณต้องสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องในโครงการ (Stakeholder) เข้าใจและน่าสนใจไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกทางบวกต่อโครงการของคุณ

ทักษะด้านการสร้างความสัมพันธ์ (Relationship management skills)

3 สร้างความไว้วางใจ (Building Trust) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือลูกค้า (Stakeholder) เพราะนอกจากจะทำให้โครงการสำเร็จแล้ว อาจจะได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการมากขึ้นด้วย
4 หมั่นสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของทีมงาน เพราะจะช่วยให้ทีมงานให้ความร่วมมือกับคุณ (Team Collaboration) ได้จนจบโครงการ
5 เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการทำงานได้ดี (Critical Skills) เช่น การสื่อสาร (Communication skill) การเจรจาต่อรอง (Negotiation skills) การติดสินใจ (Decision making skill) รวมทั้งทักษะอื่นที่จะช่วยให้คุณบริหารจัดการได้ดีขึ้น
6 ยกย่องทีมงาน (Reward and Recognition) เพื่อสร้างแรงจูงใจ (Team motivation) ในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
7 ฉลองให้กับความสำเร็จ หลังจบโครงการไม่ว่ามันจะดีหรือร้าย อย่าลืมฉลองให้กับความเหนื่อยของทีม

ทักษะด้านการทำงานตามแผนงาน (Commitments)

8 ใช้เทมเพลท (Template) เพื่อช่วยรักษาแผนการดำเนินงานของคุณให้อยู่ในขั้นตอน และอย่าลืมประเมินผล (Performance Evaluation) เป็นระยะ ๆ เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
9 เริ่มต้นโครงการอย่างเป็นทางการ (Formally "kick off" your projects) เช่น การประชุมชี้แจงโครงการ เพื่อบอกวัตถุประสงค์และวิธีการ จะช่วยให้โครงการเสร็จตามเวลาที่กำหนด
10 ประชุมสม่ำเสมอ (Regular Status Meeting) การประชุมโดยที่คุณกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาได้ จะช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
11 อย่ากลัวพลาด การทำแผนบริหารความเสี่ยง (Risk Management Plan) อาจจะช่วยได้ แต่อย่ากลัวที่จะผิด เพราะบางครั้งคุณอาจได้เรียนรู้มากมายจากความผิดพลาดนั้น
12 จัดกระบวนการในโครงการ (Processes) เพื่อที่งานของคุณจะได้ราบรื่นทุกขั้นตอน

ทักษะการรายงาน (Presentation skills)

13. ทำความเข้าใจกับมูลค่าเงินในโครงการ และรายงานตามงบประมาณโครงการแบบเป็นขั้นตอน
14. ปิดโครงการอย่างเป็นทางการ(Formally closeout the project) ทั้งถอดบทเรียน สรุปผล แก่ทีมงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
15. แชร์ประสบการณ์กับผู้จัดการอื่น คุณอาจจะนำแนวทางปฏิบัติของคนอื่นมาปรับใช้ได้
· ทักษะด้านอื่น ๆ
16 เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาด้วยความมั่นใจ ปัญหาอาจจะทำให้คุณเห็นช่องว่างของการทำงานโครงการ อย่าเพิ่งตีโพยตีพายไปว่าปัญหาจะร้ายแรงไปเสียหมด
17 จัดลำดับความสำคัญ (Prioritization) หากคุณต้องจัดการโครงการในเวลาและทรัพยากรที่จำกัด คุณต้องรู้วิธีจัดลำดับแก้ไขปัญหา
18 มอบหมายงาน (Delegation) คุณทำงานคนเดียวไม่ได้ แสดงให้ทีมเห็นว่าคุณไว้วางใจให้ทำงานและมีวิธีการตรวจสอบการทำงานที่คุณมอบหมายด้วยเช่นกัน
19 เลือกวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่างานมีประสิทธิภาพและสามารถอ้างอิงได้ในอนาคต
20 เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง (Strong Decision maker) มันอาจจะไม่ถูกใจ แต่เมื่อผลลัพธ์ที่ดี คุณจะได้ความน่าเชื่อถือไปครอง


เพียงเท่านี้ ก็ช่วยให้คุณเป็นผู้จัดการโครงการ ที่ทำทุกๆ งานได้อย่างรายรื่นและสมบูรณ์แบบมากขึ้นได้แล้วล่ะค่ะ
**ท่านที่สนใจและอยากประสบความสำเร็จ ในวิชาชีพ ด้านการบริหารงานโครงการ ดูรายละเอียดหรือสอบถามเกี่ยวกับหลักสูตร เพิ่มเติมได้ที่**


Call: 026103963
Email: training@psisolution.com
Website: www.psisolution.com
Facebook: https://www.facebook.com/PSISolutionsThailand
LINE@: @psisolutions

 

enquiry form

  • Please type the letters and numbers shown in the image.
  •  
    Captcha Code

    Click the image to see another captcha.


  • * All fields are required.