Agile ไม่ใช่แค่สำหรับนักพัฒนาซอฟแวร์อีกต่อไป
Agile มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาซอฟแวร์ รวมทั้งยังมีความหมายต่อการพัฒนาด้านที่ไม่ใช่ซอฟแวร์อีกด้วย คำ ๆ นี้ยังได้รวมเอาพื้นฐานของการจัดการโครงการ โดยเทคนิคของ Agile ยังนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาทั้งการประชุม (Daily standup meeting) การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization) และการแบ่งโครงการเพื่อส่งมอบเป็นขนาดเล็กในหลายรอบการการทำงานด้วย (Smaller iterations)
-
คำนิยามของ Agile
เราอาจจะให้คำนิยามของ Agile ได้ว่าเป็นวิธีการทำงานโครงการโดยเน้นลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการทำงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า เพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารระดับสูง โดยเกิดการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดการโครงการนั้นจะพัฒนาโดยมุ่งเน้นไปที่จุดมุ่งหมายเดียวกัน เพื่อให้เห็นความชัดเจน เราจะนิยามได้ดังนี้
-
มีการจัดการโครงการอย่างรวดเร็วรอบรับการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
-
การจัดตารางงานเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังต้องมีการติดตามอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
-
คำขอหรือการอนุมัติต่าง ๆ ต้องเกิดอย่างรวดเร็ว เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน
-
ทีมงานจะต้องติดต่อสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากทุกคนต้องพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา นั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปรับตัวให้ทัน
หลักความคิดของ Agile ดังที่กล่าวมานี้ พิสูจน์แล้วว่าบริษัทที่ไม่ใช่แค่บริษัทที่พัฒนาซอฟแวร์ก็สามารถนำแนวความคิดนี้ไปใช้ได้เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานนั่นเอง
-
การพัฒนาซอฟแวร์ก่อนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของ Agile
ในการทำงานแต่ละปี เรามักเกิดรูปแบบของการทำงานแบบ “Scrum” หรือรุมกันทำงาน จนการทำงานในลักษณะนี้กลายมาเป็นหัวข้อการวิพากษ์วิจารณ์มากมาย การพัฒนาซอฟแวร์จึงเริ่มต้นขึ้นเพื่อช่วยยกระดับคุณค่าของกระบวนการทำงานไปสู่ทีมพัฒนาโปรเจ็ค ซึ่งผู้ปฏิบัติงาน จึงเริ่มเรียนรู้ที่จะนำหลักการ Agile เข้ามาใช้กับกระบวนการทำงานในซอฟแวร์ ให้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงของการทำงาน ซึ่งปกติการทำงานเพื่อหาจุดบกพร่องมักจะเกิดจากการทำซ้ำ ๆ แต่การพัฒนา Agile จะช่วยลดกระบวนการทำซ้ำ และมุ่งสู่ผลลัพธ์โดยไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปหาข้อบกพร่อง ซึ่งหมายถึงเวลาที่รวดเร็วของการทำงาน จะนำมาสู่ความพึงพอใจของลูกค้าได้อีกด้วย
-
กระบวนการทำงานที่มีคุณค่าของ Agile (Value of Agile in Other industries)
ในทุก ๆ องค์กร ผู้บริหารและผู้จัดการโครงการจะมองเห็นวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและจุดบกพร่องของการทำงานตลอดเส้นทางการทำงาน บางแผนกหรือบางจุดขององค์กร ต้องการความรวดเร็ว ความคล่องตัวในการทำงานเป็นพิเศษ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการใหม่ ๆ ที่จะออกสู่ตลาด การปรับโครงสร้างองค์กร การออกแบบ หรือแม้กระทั่งการก่อสร้าง ปัจจัยเหล่านี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่จะเกิดขึ้น กระบวนการ Agile คือวิธีการทำงานเพื่อรองรับสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ นี่คือคุณค่ากระบวนการทำงานของ Agile
กล่าวโดยสรุปคือ Agile มีคุณค่าสำคัญต่อการจัดการโครงการในทุก ๆ องค์กร เพื่อแสดงให้เกิดความคุ้มค่าของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ